Menu

พาราควอตคืออะไร ทำไมถึงถูกแบนไม่ให้ใช้ในหลายประเทศ 

Peter Torres 2 years ago 7

จากความพยายามที่จะผลักดันในการเลิกใช้ หรือห้ามใช้สารเคมีอันตราย 3 ชนิดด้วยกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ พาราควอต สารเคมีที่อันตรายต่อชีวิต ที่ใช้กันแพร่หลายในการเกษตรของประเทศไทย ที่ยืดเยื้อมาเกือบ 2 ปี แต่ท้ายที่สุดก็ไม่เป็นผล เพราะที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายของไทยเรานั้น มีมติอนุญาตให้ใช้สารเคมีพิษนี้ต่อ โดยไม่คำนึงถึงผลเสียต่อสุขภาพคนไทยแต่อย่างใด!! เนื่องจากบริษัทสารพิษได้นำเข้าสารเคมีดังกล่าวมากักตุนไว้จำนวนมากตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ. 2560 แล้วพาราควอตคืออะไร ทำไมถึงถูกแบนห้ามนำเข้าและห้ามใช้เด็ดขาดในหลายๆประเทศ ในขณะที่ประเทศไทยยังคงให้ใช้ต่อไป????? 

พาราควอตคืออะไร 

Paraquat หรือ พาราควอต คือ สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของยากำจัดวัชพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารเคมีที่ถูกสั่งห้ามใช้ในหลายประเทศ ณ ปัจจุบัน เนื่องจากเป็นสารเคมีที่เป็นพิษและอันตรายสูงมากต่อสุขภาพ และยังส่งอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีการใช้พาราควอตเพื่อกำจัดวัชพืชในภาคการเกษตรในประเทศไทย ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงมากที่ผักผลไม้ในไทยจะมีพาราควอตตกค้าง ซึ่งเราควรให้ความสนใจและศึกษาเกี่ยวกับพาราควอต คุณสมบัติเป็นอย่างไร พาราควอตอันตรายมากน้อยแค่ไหน ทำไมถึงโดนแบนจากหลายๆประเทศ 

พาราควอตมีสีเข้มคล้ายกาแฟและมีกลิ่นฉุน ผู้ผลิตจึงมักใส่สีน้ำเงินเพื่อป้องกันการสับสน การรับสารเคมีพาราควอตเข้าสู่ร่างกาย โดยการสัมผัส การสูดดม และการกินพาราควอตจากอาหารที่มีการปนเปื้อน ไม่เพียงแต่พาราควอตการออกฤทธิ์ทำลายวัชพืชเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสภาพสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ บริเวณที่มีการใช้สารเคมีเมื่อได้รับพิษจากพาราควอต 

พาราควอตเป็นสารเคมีอันตราย เดิมมีสีเข้มคล้ายกาแฟและมีกลิ่นฉุน ผู้ผลิตจึงมักมีใส่สีน้ำเงินเพื่อป้องกันการสับสน สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการสัมผัส สูดดม และรับประทาน รวมทั้งปนเปื้อนในอาหาร ด้วยพิษที่รุนแรงของพาราควอต ไม่เพียงแต่วัชพืชที่ได้รับความเสียหาย แต่ยังส่งผลไปถึงสภาพแวดล้อมรอบ ๆ บริเวณที่มีการใช้สารเคมีดังกล่าว เพราะพาราควอตตกค้างในดิน หากใครได้รับพิษพาราควอตจะเกิดความผิดปกติ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอวัยวะล้มเหลวได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องได้รับการปฐมพยาบาลอย่างทันทีหลังมีการสัมผัสหรือได้รับพิษ 

อันตรายจากพิษของพาราควอต 

ความรุนแรงของพิษจากพาราควอตขึ้นอยู่กับรูปแบบทีได้รับ ความเข้มข้นและปริมาณของสารพิษ พาราควอตออกฤทธิ์รวดเร็ว โดยอาการหลังจากได้รับพิษแบ่งได้ตามรูปแบบที่ได้รับ ดังต่อไปนี้ 

การสัมผัส 

หากมีการสัมผัสสารพาราควอตสะสมเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลต่อการแพ้ในผิวหนัง ระคายเคือง มีผื่น ตุ่มคันรุนแรง หรือเกิดบาดแผล และหากสารพาราควอตสัมผัสกับบาดแผล ก็จะซึมเข้าสู่กระแสเลือด จนส่งผลต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายต่อระบบภายในและสุขภาพ 

การสูดดม

หากได้รับพาราควอตผ่านทางการสูดดม จะส่งผลอันตรายต่อปอด และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

การรับประทาน

หากเผลอกินพาราควอต หรือได้รับสารพาราควอตตกค้างในอาหาร  พืชผัก ผลไม้ หากได้รับพาราควอตที่มีความเข้มข้น 20% หรือ ปริมาณ 15 มิลลิลิตร อาจยังมีโอกาสรอดชีวิต แต่ถ้าหากได้รับเกิน 50 – 60 มิลลิลิตร อาจทำให้เสียชีวิตภายใน 48 ชั่วโมง

อาการเมื่อได้รับพิษพาราควอด 

อาการพิษจากพาราควอตส่วนใหญ่จะรู้สึกปวด แสบร้อนภายในช่องปากและลำคอ เลือดกำเดาไหล หายใจไม่อิ่ม อาเจียนหรืออาเจียนเป็นเลือด ปวดท้อง ท้องเสีย และอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะขาดน้ำ ภาวะแร่ธาตุในร่างกายไม่สมดุล ความดันโลหิตต่ำ และอาจเกิดอาการช็อกได้ 

กรณีที่ได้รับพาราควอตในปริมาณเพียงเล็กน้อย อาจส่งผลต่ออวัยวะภายใน เช่น ปอด ตับ หรือไต ทำงานล้มเหลว แม้ว่าจะเป็นปริมาณน้อยแต่อาจสะสมต่อเนื่องหลายวัน หรือหลายสัปดาห์ แต่ถ้าหากได้รับสารพาราควอตในปริมาณมาก อาจส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ ไตวายเฉียบพลัน ตับทำงานล้มเหลว กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดพังผืดในปอด (Pulmonary fibrosis) มีแผลในปอด น้ำท่วมปอด ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว มีอาการชัก และเสียชีวิตได้ 

ต้องทำอย่างไรเมื่อสัมผัสกับพาราควอต

เมื่อมีการสัมผัสกับพาราควอตไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตาม ควรปฏิบัติต่อไปนี้ 

  • เสื้อผ้าโดนพาราควอต : ตัดเสื้อผ้าที่สัมผัสหรือเปื้อนสารพิษเป็นชิ้นเล็ก เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้บริเวณเสื้อผ้าที่เปื้อนสารพิษสัมผัสกับร่างกาย จากนั้นนำเสื้อผ้าใส่ถุงมิดชิดแล้วไปกำจัด 
  • พาราควอตสัมผัสผิวหนัง : รีบอาบน้ำให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันสารพิษซึมเข้าสู่ร่างกาย 
  • พาราควอตสัมผัสดวงตา : รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดเป็นเวลา 10 – 15 นาที หากยังไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ (หากสวมคอนแทคเลนส์ ควรถอดทิ้งทันที และไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ) 
  • ได้รับพาราควอตผ่านการรับประทาน ให้รีบทานถ่านกัมมันต์ (Activated charcoal) สำหรับแก้ท้องอืด หรือ Fuller’s earth เพราะสองตัวนี้จะช่วยดูดซึมสารพิษได้ 

เมื่อทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นดังกล่าวแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์หรือนำตัวผู้ได้รับพิษส่งโรงพยาบาล ให้แพทย์ทำการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันอาการรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ 

การหลีกเลี่ยงสารพาราควอตยังสามารถทำได้โดยเลือกซื้อผักผลไม้ที่ปลอดสาร เลี่ยงอาหารที่อาจปนเปื้อนสารพิษ และล้างวัตถุดิบให้สะอาดก่อนทำอาหารหรือรับประทานทุกครั้ง แต่สำหรับผู้ที่ต้องทำงานคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับสารพิษพาราควอต ควรศึกษาวิธีใช้และวิธีป้องกัน รวมถึงวิธีปฐมพยาบาลเมื่อได้รับสารพิษให้ละเอียด เพื่อจะได้เข้าใจและสามารถแก้ไขได้อย่างถูกต้อง ลดความเสี่ยงต่ออันตรายและการสูญเสีย แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม พาราควอต ก็ยังคงเป็นสารพิษที่ควรหลีกเลี่ยง และควรอย่างยิ่งต่อการพิจารณาใช้วิธีธรรมชาติแทนการใช้สารพิษ ที่จะย้อนกลับมาทำร้ายและบั่นทอนสุขภาพทุกชีวิตบนโลกนี้ เพราะสารพิษเหล่านี้มันไม่สลายได้ง่าย แต่มันจะยิ่งกลับฝังรากลึก ตกค้างในดิน ในสิ่งแวดล้อม และย้อนกลับมาทำร้ายเราในที่สุด

– Advertisement –
Written By

– Advertisement –