Menu

หลักการให้ทาน ตามหลักพระพุทธศาสนา 

Peter Torres 2 years ago 46

การให้ หมายถึง การเสียสละของตนแก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม 

การให้ทาน คือ การเสียสละให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน แต่จะเกิดความอิ่มเอิบใจ ผ่องใส รู้สึกเบาสบาย ซึ่งก็คือ บุญ เกิดขึ้น นั่นเอง 

การให้ทาน มีอะไรบ้าง 

การให้ทานสามารถแบ่งได้ตามนี้ 

  1. วัตถุทาน หรือ อามิสทาน คือ การให้วัตถุสิ่งของเป็นทาน 

  1. ธรรมทาน คือ การให้ธรรมเป็นทาน เช่น การเทศนาธรรม การให้ความรู้ทางหลักธรรมะ และ วิทยาทาน คือ การให้ความรู้เป็นทาน (วิชาการทางโลก) 

  1. อภัยทาน คือ การไม่ถือโกรธ หรือ ยกโทษให้แก่ผู้ที่ทำไม่ดีกับตน ไม่จองเวรหรือพยาบาท ซึ่งเป็นการให้ทานอันสูงสุดตามหลักพุทธศาสนา เพราะเป็นการให้ที่ยากที่สุด แต่ได้บุญมากที่สุดด้วย

อามิสทาน : เป็นการบริหารด้านร่างกาย  และ  ธรรมทาน : เป็นการบริหารด้านจิตใจ 

ซึ่งการดำเนินชีวิตนั้น ควรยึดหลักทั้งอามิสทานและธรรมทาน เพื่อให้สมบูรณ์พร้อมด้วย กายและจิตใจ 

องค์ประกอบการทำบุญด้วยการให้ทาน

  1. สิ่งของที่จะให้ทานนั้นบริสุทธิ์ คือ ได้มาด้วยความชอบธรรม ไม่ได้ขโมยหรือนำของผู้อื่นที่ไม่เต็มใจมาให้ทาน รวมถึงสิ่งที่ให้จะต้องไม่ขัดต่อศีลธรรม ตัวอย่างการให้ทานที่ได้กุศล เช่น การให้อาหารแก่คนไร้บ้าน การไม่ใส่บาตรพระด้วยสิ่งของต้องห้าม หรือให้สุรา สิ่งเสพติดให้โทษ อาวุธ หรือสื่อลามกต่าง ๆ แก่ผู้อื่น เป็นต้น 

  1. ผู้ให้บริสุทธิ์ คือ ผู้ให้ทานนั้นจะต้องให้ด้วยความเต็มใจ ให้ด้วยความศรัทธา ให้เพื่อมุ่งหวังอนุเคราะห์แก่ผู้รับให้ได้ประโยชน์จากวัตถุนั้น ให้เพื่อขจัดความตระหนี่ของตน และมีจิตใจผ่องใสเป็นสุขทั้งก่อนให้ ขณะที่ให้ และหลังให้ทานเสร็จสิ้น โดยไม่เกิดความเสียดายหรือเสียใจทีหลัง 

  1. ผู้รับบริสุทธิ์ คือ ผู้รับเป็นผู้มีศีล มีธรรม ไม่เป็นผู้ทุศีล เพราะผลอานิสงส์ของทานจะมากหรือน้อย ส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับศีลและคุณธรรมของผู้รับด้วยเช่นกัน 

Buddhist monk of Thailand while stand in a row waiting people put rice and food offerings in their alms bowl for make merit

การให้คือการได้รับ

  1. ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้รับของที่พอใจ 
  2. ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ 
  3. ผู้ให้ของที่ดี ย่อมได้รับของที่ดี 
  4. ผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมได้รับของที่ประเสริฐ 

การเป็นผู้ให้ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นผู้เสียเปรียบ หรือต้องเสียสละเท่านั้น แต่การให้จักได้รับเช่นกัน โดยสิ่งแรกที่จะได้รับกลับมาทันที คือ ความอิ่มเอิบใจ ความสุขใจ และผู้ให้ย่อมจักได้รับกลับมา ดังนี้

ลักษณะของทาน 

โดยจะแบ่งตามชนิดสิ่งของที่บริจาคทาน ดังนี้ 

  1. ให้สิ่งที่ตนไม่ต้องการแล้ว เรียกว่า ทาสทาน 
  2. ให้สิ่งที่ยังเป็นประโยชน์กับตน เรียกว่า สหายทาน 
  3. ให้สิ่งของที่ดีที่สุด (จากทั้งหมดที่มีอยู่) เรียกว่า สามีทาน 

ทานมีอานิสงส์ตามคุณสมบัติของผู้รับ 

ผลจากการให้ทานนอกจากจะส่งผลต่อผู้ให้เกิดความอิ่มเอมใจ อันมาจาก บุญ แล้วนั้น ยังส่งผลต่อผู้ให้ในด้านอื่น ๆ เช่น หน้าตาอิ่มเอิบ แจ่มใส มีผิวพรรณดี มีความสุข มีปัญญา รวมไปถึงการมีทรัพย์ โดยอาจมีบางท่านได้ให้กุศลโลบายถึงอานิสงส์จากการให้ทานจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลบุญของผู้รับ ดังนี้ 

ให้ทานแก่สัตว์ ได้บุญน้อยกว่าให้คนทุศีล (คนไม่มีศีล) 

ให้ทานแก่คนทุศีล ได้บุญน้อยกว่าให้กับคนมีศีล 

ให้ทานแก่คนมีศีล ได้บุญน้อยกว่า ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ 

ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ ได้บุญน้อยกว่า ถวายแก่พระอริยสงฆ์ 

ถวายแก่พระอริยสงฆ์ ได้บุญน้อยกว่า ถวายแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 

ถวายแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้บุญน้อยกว่า การถวายสังฆทาน 

การถวายสังฆทาน ได้บุญน้อยกว่า วิหารทาน (ก่อให้เกิดประโยชน์แก่พระสงฆ์จากทุกทิศ) 

อานิสงค์การให้ทาน 5 ประการ 

  1. ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก 
  2. สัปปบุรุษผู้มีความสงบ ผู้มีธรรม ย่อมคบหาผู้ให้ทาน 
  3. ผู้ให้ทานเป็นผู้มีกิตศัพท์อันดีงามขจรขจายไปทุกภพ 
  4. ผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์ 
  5. ผู้ให้ทานเมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติภูมิ 

ด้วยเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า การบำเพ็ญทาน เป็นมงคลสูงสุดในชีวิต 

– Advertisement –
Written By

– Advertisement –