Menu

โรคจิตเวชที่พบได้บ่อยในคนไทยมีอะไรบ้าง

Peter Torres 6 months ago 16

ปัจจุบันมีผู้ป่วยทางจิตเวชเพิ่มมากขึ้น ทั้งแบบผู้ป่วยจิตเวชที่ไม่รู้ตัว และแบบที่รู้ตัวว่าตนเองป่วย แต่หลายรายที่มักสับสนในอาการป่วยทางจิตเวชบางชนิด หรือไม่เข้าใจว่าอาการที่ตนเป็นอยู่นั้น เข้าข่ายโรคจิตเวชแบบไหนกันแน่ ซึ่งวันนี้แอดมินได้รวบรวมประเภทโรคจิตเวชที่พบได้บ่อยในคนไทยขณะนี้ จะมีโรคจิตเวชประเภทไหนบ้าง ไปดูเช็กกันเลยดีกว่า อาการเหล่านี้ใช่เราหรือคนใกล้ตัวเป็นบ้างหรือเปล่านะ เพราะบางโรคหากรู้เร็ว รักษาไว หายได้ ลดการสูญเสียทันค่ะ

1. โรคซึมเศร้า (Depressive Disorder) 

โรคซึมเศร้า คือ โรคที่ผู้ป่วยมีภาวะหดหู่ รู้สึกเศร้า ท้อแท้ เบื่อหน่ายต่อสิ่งรอบข้างนานเกิน 2 สัปดาห์ รู้สึกว่าตนไร้ค่า เป็นภาระต่อคนรอบข้าง ไม่มีสมาธิต่อสิ่งรอบตัว ไม่มีอารมณ์ในการทำกิจกรรมใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน หรือกิจวัตรประจำวัน และไม่รู้จะอยู่ไปเพื่ออะไร หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี มีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตายได้ 

2. โรคจิตเภท (Schizophrenia) 

โรคจิดเภท จะมีอาการที่รุนแรง และมีความซับซ้อนกว่าโรคจิตเวชอื่น ๆ โดยผู้ป่วยจะมีความคิด การรับรู้ รวมถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น มีอาการหูแว่ว เห็นภาพหลอน นิ่งเฉย ไม่แสดงอาการใด ๆ ไม่พูดไม่จา เก็บตัว โดยไม่มีสาเหตุ และมีอาการต่อเนื่องติดต่อกันมากกว่า 6 เดือน ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม หรือพันธุกรรม หรือไม่สามารถจัดการความเครียดได้ ส่วนการรักษามักจะเป็นการใช้ยาเพื่อควบคุมอาการ  

3. โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) 

โรควิตกกังวล คือ โรคที่มีอาการคิดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ จนไม่สามารถหยุดความคิดเหล่านั้นได้ และทำให้รบกวนในการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งทางกายและจิตใจ เช่น มีอาการปวดตึงต้นคอ นอนหลับยาก อ่อนเพลีย ใจสั่น และ ก่อให้เกิดอาการของโรคต่าง ๆ เช่น โรคแพนิค (Panic Disorder)  โรคกลัวเฉพาะอย่าง (Specific Phobia)  โรคกังวลกับทุกสิ่ง (Generalized Anxiety Disorder)  เป็นต้น ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการสิ่งแวดล้อมที่เติบโต การเลี้ยงดูของครอบครัว หรือ ประสบการณ์ชีวิตบางช่วงขณะที่ไม่สามารถจัดการได้ เป็นประสบการณ์ที่ไม่ดี จนทำให้กลายเป็นอาการฝังใจ ต้องใช้จิตบำบัดในการรักษา ควบคู่กับการทานยาเพื่อควบคุมอาการ 

4. โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) 

โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ผู้ป่วยไบโพลาร์  มีอารมณ์ปรวนแปรง่าย เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย คาดเดาอารมณ์ได้ยาก อยากทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งพบผู้ป่วยโรคไบโพลาร์มากขึ้นในประเทศไทย มีพฤติกรรมที่ผิดแปลกไปจากเดิม ใช้เงินเก่งขึ้น พูดน้อยลง เก็บตัวมากขึ้น การรักษาจะใช้วิธีกการทานยาควบคู่ไปกับการทำจิตบำบัด และการปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิต โดยอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ 

5. โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive – Compulsive Disorder) 

โรคย้ำคิดย้ำทำ คือ พฤติกรรมที่มักจะทำบางสิ่งบางอย่างซ้ำไปซ้ำมา โดยที่ผู้ป่วยเองไม่สามารถหยุดสิ่งที่ทำได้เอง เช่น คอยเช็กตลอดเวลาว่าตนเองปิดไฟ ปิดน้ำ ปิดแก๊สแล้วหรือยัง แม้ว่าจะรู้ว่าตนเองปิดแล้ว แต่ก็ยังต้องการเช็กเพื่อความสบายใจ ไม่เช่นนั้นจะเกิดความกังวล และไม่สามารถห้ามการกระทำของตนเองได้ ซึ่งในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย ส่วนการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ จะใช้วิธีจิตบำบัดเป็นหลัก และอาจใช้ยาลดความกังวลร่วมด้วยในรายที่ไม่สามารถควบคุมอาการตนเองได้ 

– Advertisement –
Written By

– Advertisement –